ลิขสิทธิ์และความเป็นเจ้าของผลงาน


 ปัจจุบันทรัพย์สินทางปัญญานับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และควรค่าต่อการที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ด้วยเหตุผลที่ว่าการประดิษฐ์คิดค้น กรรมวิธีต่าง ๆ นั้น จุดกำเนิดของการได้มานั้นมาจากความคิดมาจากมันสมองผนวกกับระยะเวลาที่ทุ่มเทให้กับการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ทรงคุณค่าเป็นที่ภูมิใจของผู้ประดิษฐ์ ดังนั้นด้วยเหตุนี้เองผลงานดังกล่าวจึงควรค่าแก่การคุ้มครอง จากเหตุที่กล่าวมาจึงได้มีการบัญญัติเป็นกฎหมายเพื่อให้การคุ้มครอง โดยมีพระราชบัญญัติสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า ให้การคุ้มครองในหลักการรูปแบบที่แตกต่างกันไป
           ลิขสิทธิ์ ธ(Copyright) หมายถึง สิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้นตามประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรมโสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ไม่ว่างานลักษณะดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใดนอกจากนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเอง ในการสร้างสรรค์โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างโดยไม่ต้องจดทะเบียน
          สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons Licence: CC) เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งพัฒนาโดย Hewlett Foundation study องค์กรไม่แสวงกำไรองค์กรหนึ่งที่เน้นงานด้านกฎหมาย  ริชาร์ด สตอลแมน ได้สร้างตัวแปลชุดคำสั่งภาษา Lisp (ภาษาทางด้านโปรแกรม) โดยยกให้เป็นสาธารณะสมบัติ ต่อมาบริษัท Symbolics ได้พัฒนาภาษา Lisp ให้ดีขึ้นแต่ไม่ยอมเปิดเผยส่วนที่พัฒนาเพิ่มเติมแม้กระทั่งต่อ ริชาร์ด เอง จึงมีการสร้างสัญญาอนุญาตที่ชื่อว่า Copyleft (ไม่สงวนลิขสิทธิ์) ซึ่งตรงข้ามกับ Copyright (สงวนลิขสิทธ์) ภายหลังจึงเกิดสัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์เสรีชื่อว่า GNU General Public License (GPL) เพื่อปกป้องลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์แบบ Open Source ให้เจ้าของเผยแพร่ผลงานเป็นสาธารณะแต่ไม่เสียสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของหลังจากนั้นได้มีการก่อตั้งองค์กรไม่แสวงกำไรที่ชื่อ “ครีเอทีฟคอมมอนส์” เพื่อสร้างสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์นี้
          วัตถุประสงค์ของสัญญานี้เพื่อให้เจ้าของผลงานอันมีลิขสิทธิ์สามารถแสดงข้อความอันอำนวยความสะดวกให้สาธารณชนรู้ถึงสิทธิ์ในผลงาน และทราบว่าจะนำงานอันมีลิขสิทธ์ของตนไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตและไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ โดยผู้ที่นำผลงานไปใช้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น อ้างอิงแหล่งที่มา ไม่ใช่เพื่อการค้า ไม่ดัดแปลงต้นฉบับ เป็นต้น รายละเอียดของแต่ละสัญญาอนุญาตนั้น ขึ้นอยู่กับรุ่นของสัญญา และประกอบไปด้วยตัวเลือกจากเงื่อนไข 4 เงื่อนไข โดยได้มีการจัดทำสัญลักษณ์เงื่อนไขเป็น 4 ประเภท
          ซึ่งเครือข่ายครีเอทีฟคอมมอนส์ประเทศไทย (http://cc.in.th) ได้ถอดความและนำสัญลักษณ์ 4 เงื่อนไขนั้นมาอธิบายไว้ดังนี้

  • แสดงที่มา/อ้างที่มา (Attribution – BY) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าว และสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าว ได้เฉพาะกรณีที่ผู้นั้นได้แสดงเครดิตของผู้เขียนหรือผู้ให้อนุญาตตามที่ระบุไว้ ใช้สัญลักษณ์
  • ไม่ใช้เพื่อการค้า (NonCommercial – NC) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าว และสร้างงานดัดแปลงจากชิ้นงานดังกล่าว ได้เฉพาะกรณีที่ไม่นำไปใช้ในทางการค้า ใช้สัญลักษณ์
  • ไม่ดัดแปลง (No Derivative Works –ND) : อนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำ แจกจ่าย หรือแสดงและนำเสนอชิ้นงานดังกล่าวในรูปแบบที่ไม่ถูกดัดแปลงเท่านั้น ใช้สัญลักษณ์
  • อนุญาตแบบเดียวกัน (Share Alike – SA) : อนุญาตให้ผู้อื่นแจกจ่ายงานดัดแปลง เปลี่ยนรูปหรือต่อเติมงานได้เฉพาะกรณีที่ชิ้นงานดัดแปลงนั้นเผยแพร่ด้วยสัญญาอนุญาตที่เหมือนกันทุกประการกับงานต้นฉบับ หรือสรุปง่ายๆ ว่าต้องใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกันกับงานดัดแปลงต่อยอดใช้สัญลักษณ์

          ทั้งนี้การกำหนดสัญญาอนุญาต ทำได้โดยการระบุเงื่อนไงร่วมกันได้ใน 6 แบบ ดังนี้

  • Attribution CC – BY ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มา สัญญาอนุญาตประเภทนี้อนุญาตให้ผู้อื่นดัดแปลง และต่อยอดงานของคุณ ถึงแม้ว่าจะนำไปใช้เพื่อการค้า ตราบใดที่คนที่นำผลงานคุณไปใช้ให้เครดิต/อ้างอิงคุณในฐานะผู้สร้างงานต้นฉบับ
  • Attribution CC – BY -SA ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มาและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตเดียวกัน สัญญาอนุญาตรูปแบบนี้อนุญาตให้ผู้อื่นดัดแปลง แก้ไข หรือต่อยอดผลงานของคุณ หรือนำไปใช้เพื่อการค้า ตราบใดที่ผู้ใช้ให้เครดิต อ้างอิงคุณในฐานะของผู้สร้างผลงาน และลิงก์กลับมายังคุณ และใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกันแบบเดียวกับคุณที่เป็นผู้สร้างงาน
  • Attribution CC – BY -ND ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มา แต่ห้ามดัดแปลง สัญญาอนุญาตรูปแบบนี้อนุญาตให้ผู้อื่นไปเผยแพร่ และสามารถนำไปใช้เพื่อการค้าได้ ตราบใดที่ผู้ใช้ให้เครดิต อ้างอิงคุณในฐานะของผู้สร้างผลงาน และลิงก์กลับมายังคุณ และไม่ดัดแปลง ต่อเติม หรือแก้ไข ผลงานของคุณแต่อย่างใด
  • Attribution CC- BY -NC ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มาแต่ ห้ามใช้เพื่อการค้า สัญญาอนุญาตรูปแบบนี้อนุญาตให้ผู้อื่นดัดแปลงแก้ไข หรือต่อยอดผลงานของคุณ และไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดียวกับคุณ ตราบใดที่ผู้ใช้ให้เครดิต/อ้างอิงคุณในฐานะของผู้สร้างผลงาน และลิงก์กลับมายังคุณ และไม่ได้นำผลงานของคุณไปใช้เพื่อการค้า
  • Attribution CC- BY – NC – SA ให้เผยแพร่ ดัดแปลง โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน สัญญาอนุญาตรูปแบบนี้อนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานของคุณมาดัดแปลง แก้ไข หรือต่อยอดผลงานของคุณ ตราบใดที่ผู้ใช้ให้เครดิต อ้างอิงคุณในฐานะของผู้สร้างผลงาน และลิงก์กลับมายังคุณ และไม่ได้นำผลงานของคุณไปใช้เพื่อการค้า
  • Attribution CC- BY – NC -ND ให้เผยแพร่ โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า สัญญาอนุญาตรูปแบบนี้นับได้ว่ามีข้อจำกัดสูงสุดในการใช้งาน เนื่องจากสัญญาอนุญาตรูปแบบนี้สามารถให้ผู้อื่นนำผลงานของคุณไปใช้ ตราบใดที่ผู้ใช้ให้เครดิต/อ้างอิงคุณในฐานะของผู้สร้างผลงาน และลิงก์กลับมายังคุณ แต่เขาไม่ได้รับสิทธิ์ในการนำผลงานของคุณไปใช้เพื่อการค้า และดัดแปลง ต่อเติม หรือแก้ไข ผลงานของคุณแต่อย่างใด

          ตัวอย่างการใช้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (CC) เช่น กรณีที่มีหน่วยงานด้านการวิจัยแห่งหนึ่ง ได้เผยแพร่งานวิจัยบนเว็บไซต์และประกาศใช้สัญญาแบบ CC-BY-NC-SA กับผลงานที่เผยแพร่ ผู้ที่นำ ข้อมูลไปใช้ได้เลยไม่ต้องทำ หนังสือขออนุญาตหรือทำ สัญญาข้อตกลงกับหน่วยงานแห่งนี้ ปรากฏว่ามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งนำข้อมูลไปทำ วิจัยต่อยอดต้องเผยแพร่งานวิจัยนั้นสู่สาธารณะ แต่ถ้ามหาวิทยาลัยนั้นนำข้อมูลไปตีพิมพ์เป็นหนังสือแล้วจำหน่ายหน่วยงานแห่งนี้สามารถฟ้องร้องการละเมิดสัญญาได้ ดังนั้นผู้ใช้งานที่นำ เอาผลงานของผู้อื่นที่มีสัญลักษณ์ดังกล่าวโดยเฉพาะบนอินเทอร์เน็ตต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวโดยเคร่งครัดด้วย ผู้ที่ทำผิดเงื่อนไขในสัญญาอนุญาต เจ้าของผลงานสามารถฟ้องร้องและบังคับผู้ทำผิดเงื่อนไขได้ตามกฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง อ่านเพิ่มเติมกฎหมายลิขสิทธิ์