ประวัติความเป็นมาและความหมาย

ประวัติความเป็นมา ความหมายของการละเล่น

ประวัติความเป็นมา

สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยนรัตนโกสินทร์ ปัจจุบัน


การเล่นของไทยมีมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ที่ไม่มีทราบชัดเจนว่าเมื่อไหร่ มีแต่การสันนิษฐานกันตามประวัติศาสตร์และหลักฐานที่ปรากฏตามที่มี การจารึกกันไว้เท่านั้น ซึ่งปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่สมัยกรุงสุโขทัย จากข้อความในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือ วรรณคดีและภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งมีการสืบทอดวิธีเล่น กันมาอย่างต่อเนื่อง และปรับให้เข้ากับแต่ละยุคสมัย โดยการเล่นของไทย ได้สอดแทรกไปกับประเพณีและวัฒนธรรมไทยในสมัยก่อน เพื่อให้เกิด ความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำ งาน ทั้งในชีวิตประจำ วัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล

กลับด้านบน


สมัยสุโขทัย


การละเล่นของเด็กไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยดึกดำ บรรพ์ ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รู้จักเอาดินมาปั้นเป็นภาชนะ สิ่งของเครื่องใช้ในครั้งแรกแล้วจึงพัฒนามาเป็นลำ ดับ เด็ก ๆเห็นผู้ใหญ่ทำ ก็เลียนแบบ นำ ดินมาปั้นเล่นบ้าง ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกว่า คนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากความในศิลาจารึกของ พ่อขุนรามคำแหง สมัยสุโขทัยหลักที่ ๑ กล่าวว่า “…ใครใคร่จักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…” แต่ไม่มีรายละเอียดกล่าวไว้ว่าคน สมัยนั้นมีการละเล่นอะไรบ้าง ในตำ รับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มีการกล่าวถึง การละเล่นของคนสมัยนั้นว่า “...เดือนยี่ถึงการพระราชพิธีบุษยาภิเษก เถลิงพระโค กินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าวหง่าวฟังสำ เนียง เสียงว่าว ร้องเสนาะลั่นฟ้าไปทั้งทิวาราตรี...”

กลับด้านบน


สมัยอยุธยา


ในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเรื่อง มโนห์รา ไว้ในบทละคร ครั้งกรุงเก่า ซึ่งเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดำ รงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า แต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นที่ปรากฏในบทละคร เรื่องนี้คือ ลิงชิงหลักและการเล่นปลาลงอวน ซึ่งประเพณีและวัฒนธรรม สมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำงานทั้งในชีวิตประจำวัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึงการละเล่นบางอย่าง ที่คุณคงจะคุ้นเคยดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือลิงชิงหลักและปลาลงอวน ในบทที่ว่า “เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา ว่าเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มาเราจะเล่นกระไรดี เล่นให้สบายคลายทุกข์ เล่นให้สนุกในวันนี้ จะเล่นให้ขันกันสักทีเล่นให้สนุกกัน จริงจริง มาเราจะวิ่งลิงชิงเสา ช้างโน้นนะเจ้าเป็นแดนพี่ ช้างนี้เป็นแดนเจ้านี้ เล่นลิงชิงเสาเหมือนกัน ถ้าใครวิ่งเร็วไปข้างหน้า ถ้าใครวิ่งช้าอยู่ข้างหลัง เอาบัวเป็นเสาเข้าชิงกัน ขยิกไล่ผายผันกันไปมา เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา บอกเจ้าโฉมตรู มโนห์รา มาเราจะเล่นปลาลงอวน บัวผุดสุดท้องน้องเป็นปลา ลอยล่องท่องมาเจ้าหน้านวลจะขึงมือกันไว้เป็นสายอวน ดักท่าหน้านวลเจ้าล่องมา ออกหน้าที่ใครจับตัวได้ คุมตัวเอาไว้ว่าได้ปลา”

กลับด้านบน


สมัยรัตนโกสินทร์


พระยาอนุมานราชธน ได้กล่าวถึง การละเล่นของเด็กไทยสมัยท่าน ไว้ใน “ฟื้นความหลัง” ว่า “การละเล่นของเด็กปูนนี้ไม่ใช่มีปืน มีรถยนต์เล็กๆ อย่างที่เด็กเล่นกันเกร่ออยู่ในเวลานี้ลูกหนังสำ หรับเล่น แม้ว่ามีแล้วราคาแพง และยังไม่แพร่หลายตุ๊กตาที่มีดื่น คือตุ๊กตาล้มลุกและตุ๊กตาพราหมณ์นั่งท้าวแขน สำ หรับเด็กผู้หญิงเล่น ตุ๊กตาเหล่านี้เด็ก ๆ ชาวบ้านไม่มีเล่น เพราะต้องซื้อ จะมีแต่ผู้ใหญ่ทำ ให้หรือไม่ก็เด็กทำ กันเองตามแบบอย่างที่สืบต่อจำ มา ตั้งแต่ไหนก็ไม่ทราบ เช่น ม้าก้านกล้วย ตะกร้อสานด้วยทางมะพร้าว สำ หรับโยนเตะเล่น หรือตุ๊กตาวัว ควาย ปั้นด้วยดินเหนียว ของเด็กเล่นที่สมัยนั้นนิยมเล่นกันคือ “กลองหม้อตาล” ในสมัยนั้น ขายน้ำตาล เมื่อใช้หมดแล้ว เด็ก ๆ ก็นำ มาทำ เป็นกลอง มีวิธีทำคือ ใช้ผ้าขี้ริ้ว หุ้มปากหม้อเอาเชือกผูกรัดคอหม้อให้แน่นแล้วเอาดินเหนียวเหลวๆละเลงทา ให้ทั่ว หาไม้เล็ก ๆ มาตีผ้าที่ขึงข้าง ๆ หม้อโดยรอบ เพื่อขันเร่งให้ผ้าตึง ก็เป็นอันเสร็จ ตีได้ มีเสียงดัง กลองหม้อตาลของใครตีดังกว่ากันเป็นเก่ง ถ้าตีกระหน่ำจนผ้าขาดก็ทำใหม่ เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่ชอบเล่น“หม้อข้าวหม้อแกง”หรือเล่นขายของหุงต้มแกง ไปตามเรื่องเอาเปลือกส้มโอเปลือกมังคุด หรือใบก้นบิดผสมด้วยปูนแดงเล็กน้อย คั้นเอาน้ำข้น ๆรองภาชนะอะไรไว้ไม่ช้าจะแข็งตัวเอามาทำ เป็นวุ้น คนไทยในอดีตมองการละเล่นของเด็กไปในแง่ของจิตวิทยาโดยตีความหมาย ของการแสดงออกของเด็กไปในเชิงทำ นายอนาคตหรือบุพนิมิตต่างๆ ความเชื่อเช่นนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง เช่น ขุนช้างขุนแผน

กลับด้านบน


ปัจจุจบัน


การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบัน เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตากระดาษ ชุดขายของพลาสติกเลียนแบบของจริง วิดีโอเกม เด็กผู้ชายก็เล่นปืน จรวด เกมกด และเครื่องเล่นต่างๆซึ่งมีขายมากมายและมีการละเล่นหลายชนิดที่นิยมเล่น ทั้งในเด็กชายและเด็กหญิง นอกจากนั้นยังเล่นตามฐานะและเศรษฐกิจ ของครอบครัว ดังนั้นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนจึงค่อย ๆ เลือนหาย ไปทีละน้อย ๆ จนเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว เช่น กาฟักไข่ เขย่งเก็งกอย ขี่ม้าส่งเมืองขี้ตู่กลางนา เตย งูกินหาง ช่วงชัย ชักเย่อ ซ่อนหา มอญซ่อนผ้า ไอ้โม่ง ตี่ รีรีข้าวสาร  ฯลฯ

กลับด้านบน

 

ความหมายการละเล่นพื้นบ้าน


การละเล่นพื้นบ้าน คือ การละเล่นที่แสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ที่มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยสามารถแบ่งตามการละเล่นแต่ละภาค ดังนี้
      * การละเล่นภาคกลางและภาคตะวันออก
      * การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน
      * การละเล่นภาคเหนือ
      * การละเล่นภาคใต้
          ความแตกต่างของการละเล่นจะปรากฏใน ลักษณะ ท่าทางการร่ายรำ คำร้อง ดนตรี และการแต่งกาย การละเล่นเป็นกิจกรรมบันเทิงที่แฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์ อันเนื่องด้วยวัฒนธรรมและประเพณีสะท้อนวิถีชีวิต และความเชื่อของสังคมที่สืบทอดมาแต่โบราณ การละเล่นบางอย่างของแต่ละภาค อาจได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ ใกล้เคียงที่มีพรมแดนติดต่อ หรือใกล้เคียงกันกัน เช่น ประเทศลาว กัมพูชา พม่า จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
          ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกว่า คนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากความในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวว่า “…ใครใคร่จักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…” และในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเรื่อง มโนห์รา ไว้ในบทละครครั้ง กรุงเก่า ได้กล่าวถึงการละเล่นนั้นบทละครนั้น ได้แก่ ลิงชิงหลัก และปลาลง อวน ประเพณีและวัฒนธรรมสมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำงาน ทั้งในชีวิตประจำวัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมาย ของคำว่า “การละเล่น” “ เล่น” และ “พื้นบ้าน” ไว้ดังนี้
การละเล่น” หมายถึง มหรสพการแสดงต่างๆ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง
 “พื้นบ้าน” หมายถึง เฉพาะถิ่น เช่น ของพื้นบ้าน มักใช้เข้าคู่กับ คำพื้นเมือง เป็นพื้นบ้านพื้นเมือง
เล่น” หมายถึง ทำเพื่อสนุกหรือผ่อนคลายอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี การแสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร

กลับด้านบน