การละเล่นพื้นบ้านภาคเหนือ

ซิกโก๋งเก๋ง ชนกว่าง เตยหรือหลิ่น ม้าจกคอก ปั่นหนังว้อง เล่นตากระโดด เล่นโพงพาง ต้นกำรำเคียว

  ซิกโก๋งเก๋ง


อุปกรณ์    โก๋งเก๋งทำจากไม้ไผ่ ท่อนปลายของไม้รวก หรือไม้ซาง ตัดให้สูง ประมาณ ๒-๒.๕ เมตร ใช้มีดตัดเจาะกิ่งไผ่ที่เป็นปมอยู่ข้อตาไผ่ออกให้หมด แต่ต้องเหลือไว้ตรงข้อแรกของไม้ไผ่ให้เป็นปมอยู่ เหลาข้ออื่นๆ ให้เรียบเพื่อสะดวกในการจับถือ หาปล้องไม้ไผ่ที่ใหญ่กว่า ๒ ท่อนแรก ตัดให้เหลือข้อปล้องไว้ด้านหนึ่งยาวประมาณ๑๕-๓๐ เซนติเมตร จำนวน ๒ ท่อน เจาะรู ๒ ด้าน เสร็จแล้วนำไปสวมเข้ากับไม้ ๒ ท่อนแรก โดยให้ไม้ที่สวมนั้นไปค้างติดอยู่กับข้อตาไผ่ที่เหลือไว้ แล้วใช้ผ้าพันตรงไม้ ๒ ท่อนประกบกันให้แน่น
วิธีการเล่น  ใช้มือถือไม้โก๋งเก๋งตั้งขึ้นให้ตรง แล้วค่อยก้าวเท้าใดเท้าหนึ่ง ขึ้นเหยียบบนไม้โก๋งเก๋ง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เท้าซ้ายขึ้นก่อน แล้วก้าวเท้าขวาตามตั้งตัวให้สมดุลแล้วค่อย ๆ ก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งออกไป ถ้าล้มก็ขึ้นใหม่เดินใหม่จนคล่อง

กลับด้านบน

 

 

ชนกว่าง


        ในบรรดาการละเล่นพื้นบ้านทางภาคเหนือโดยเฉพาะการละเล่นที่เกี่ยวข้องกับสัตว์นั้น การเล่นชนกว่างนับได้ว่าเป็นที่นิยมไม่น้อยกว่าการชนไก่ กัดปลา ชนวัว หรือวิ่งควาย ของภาคอื่นๆกว่าง  เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลด้วงมี ๖ ขา แต่ละขามีเล็บสำหรับเกาะยึดกิ่งไม้ ใบไม้ได้อย่างมั่นคงกว่างบางชนิดมีเขา บางชนิดไม่มีเขา บางชนิดไม่นิยมนำมาเลี้ยง บางชนิดนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่นเช่น กว่างซาง กว่างงวง กว่างกิ กว่างกิอุ และกว่างอี้หลุ้ม
อุปกรณ์ในการเล่น  กว่างที่นิยมนำมาเลี้ยงไว้ชนนั้นจะเป็นกว่างตัวผู้และมีเขาทั้งบนและล่าง ปลายเขาจะแยกออกเป็นแฉกและแหลมคม เขาบนติดกับส่วนหัวไม่สามารถขยับได้ ส่วนเขาล่างสามารถขยับหนีบได้ซึ่งส่วนเขานี้เองคืออาวุธสำคัญในการต่อสู้กับศัตรูโอกาสหรือเวลาที่เล่น   ฤดู กาลเล่นชนกว่างจะเริ่มต้นตั้งแต่กลางฤดูฝนไปจนถึงต้นฤดูหนาวโดยชาวบ้านจะไป จับตามกอไม้รวกด้วยการเขย่าให้ตกลงมา ถ้าเห็นว่ามีลักษณะดีตรงตามชนิดที่จะสามารถนำมาเลี้ยงไว้ชนได้ก็จะนำมา เลี้ยงโดยให้อาหารจำพวกหน่อไม้ ลูกบวบ กล้วยสุก อ้อย

กลับด้านบน

 

 เตยหรือหลิ่น


อุปกรณ์  จำนวนผู้เล่น ๖-๑๒ คน
วิธีเล่น ขีดเส้นเป็นตารางจำนวนเท่ากับผู้เล่น (สมมติว่ามี ๖ คน) แล้วแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนประจำเส้น (ตามขวาง) อีกฝ่ายจะวิ่งผ่านแต่ละเส้นไปโดยไม่ให้เจ้าของเส้นแตะได้ เมื่อเริ่มเล่นคนที่ยืนประจำเส้นแรก พูดว่า ไหลหรือ หลิ่น ฝ่ายตรงข้ามก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นแรกไปจนถึงเส้นสุดท้ายแล้ววิ่งกลับ ถ้าวิ่งกลับถึงเส้นแรกโดยไม่ถูกฝ่ายตรงข้ามแตะได้ก็พูดว่า เตย ก็จะเป็นฝ่ายชนะ โอกาสเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป
  

 

กลับด้านบน

 

 

 ม้าจกคอก


กลางเรียก ลาวกระทบไม้ การเล่นชนิดนี้เข้าใจว่าอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากการละเล่นของชาวลัวะ
อุปกรณ์และวิธีเล่นจำนวนผู้เล่น ตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป
อุปกรณ์
          ๑. ไม้กลมขนาดกำรอบ ยาวประมาณ ๕ ศอก จำนวน ๒ ท่อน
          ๒. ขอนไม้สูงประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๑-๒ ศอก จำนวน ๒ ท่อน
 สถานที่เล่น เล่นบริเวณที่เป็นลานกว้าง
 วิธีการเล่น
          ๑. แบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกมี ๒ คน สำหรับถือท่อนไม้ที่วางขนานบนขอนไม้ แล้วกระทบกันเป็นจังหวะ ส่วนฝ่ายที่ ๒ มี ๒ คนขึ้นไป สำหรับเป็นผู้เต้น
          ๒. ให้ผู้เล่นเข้าไปอยู่ระหว่างคาน ผู้ถือไม้คานทั้งคู่ก็ทำสัญญาณ โดยยกคานไม้ทั้งคู่กระแทกลงบนไม้หมอน ระหว่างที่เคาะจังหวะอยู่นั้นผู้เล่นต้องเต้นไปด้วย เมื่อให้สัญญาณเคาะ ๓ ครั้งแล้ว ครั้งที่ ๔ ผู้ถือจะเอาคานทั้งสองเข้าชิดกัน ผู้เต้นจะต้องกระโดดให้สูงกว่าครั้งแรกของจังหวะและแยกขาออกให้พ้นไม้ ถ้าถูกหนีบเรียกว่า ม้าขำคอก หรือม้าติดคอก คู่ที่ถูกไม้หนีบจะต้องออกไปเปลี่ยนให้ผู้ที่ถือคานอยู่เดิมนั้นเข้ามาเต้น ในระหว่างคานนั้นบ้าง
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นม้าจกคอกนิยมเล่นในวันขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) ของล้านนา
สาระ
การเล่นม้าจกคอก เป็นการละเล่นเพื่อให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทำให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มและความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

อุปกรณ์และวิธีเล่น

การปั่นหนังว้อง คือการปั่นยางวงที่ใช้รัดของ เป็นการเล่นของเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายเล่นโดยการจับคู่เล่นบนพื้นราบที่ไม่สกปรก เช่น พื้นเรือน หรือบนโต๊ะ อุปกรณ์ที่ใช้คือ ยางรัดของจำนวนมากน้อยเท่าที่หาได้กติกาการเล่นมีอยู่ว่า หากผู้เล่นฝ่ายใดสามารถคลายยางรัดของออกจากกันเป็นเส้นปกติได้ ก็จะได้ยางรัดนั้นเป็นกรรมสิทธิ์

วิธีเล่น

เริ่มจากการนำยางรัดของมาคนละเส้นประกบกันแล้วให้ฝ่ายหนึ่งใช้ส้นมือถูยางรัดของที่ประกบกันนั้นโดยแรงให้ยางรัดทั้งสองเส้นบิดตัวพันกันจนแน่น แล้วให้อีกฝ่ายหนึ่งพยายามแกะให้คลายออกจากกัน ถ้าทำได้สำเร็จจะได้ยางรัดของไปเป็นของตน ถ้าทำไม่สำเร็จจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งทำแทน ผลัดกันเช่นนี้ไปจนกว่าจะมีผู้ทำสำเร็จ เมื่อเสร็จแล้วก็เริ่มต้นใหม่ไปเรื่อยๆ

กลับด้านบน


ปั่นหนังว้อง

 

โอกาสหรือเวลาที่เล่น

เป็นการละเล่นที่ใช้เล่นในยามว่าง

คุณค่า / แนวคิด /
สาระ
การเล่นปั่นหนังว้อง เล่นได้ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง พ่อแม่สามารถให้ลูกเล่นในบ้านและคอยสังเกตพฤติกรรม นิสัยใจคอของลูก หากพบความผิดปกติจะแก้ไขได้ทันท่วงที
นอกจากนี้ยังเป็นการเก็บรักษายางรัดของไว้ใช้ในโอกาสต่อไปอีกทางหนึ่งด้วย
สถานที่เล่น กลางแจ้ง และควรเป็นพื้นที่บริเวณกว้าง ๆ

อุปกรณ์ ก้อนหิน หรือกระเบื้อง

จำนวนผู้เล่น ๔ คนขึ้นไป

กลับด้านบน


เล่นตากระโดด

 

วิธีเล่น

  1. ขีดช่องสำหรับกระโดดเป็น ๖ ช่อง ขนาดโตพอที่จะกระโดดเข้าไปยืนได้ แล้วแบ่งครึ่งช่องที่ ๓ ที่ ๕ สำหรับที่พัก และกลับหลังหัน จึงมีช่องทั้งหมด ๘ ช่อง แล้วเขียนหัวกระโหลกเล็ก ๆ ในช่องบนสุด
    ๒. ใช้อะไรเป็นเบี้ยก็ได้ แต่ควรเป็นของที่มีน้ำหนัก ถ้าใครโยนเข้าหัวกระโหลกที่เล็ก ๆ นั้น ก็จะได้เล่นก่อน
    ๓. โยนเบี้ยลงช่องที่ ๑ แล้วกระโดดขาเดียวข้ามช่องที่ ๑ เข้าไปยังช่องที่ ๒ แล้วกระโดด ๒ ขา เข้าไปในช่องที่ ๓ และ ๔ ให้เท้าข้างหนึ่งอยู่ช่องที่ ๓ อีกข้างหนึ่งอยู่ที่ช่องที่ ๔ จากนั้นกระโดดขาเดียว ต่อไปยังช่องที่ ๕ และ ๒ ขา ที่ช่องที่ ๖ และ ๗ ตามลำดับ กระโดดตัวกลับ หันหน้ากลับมาทางเดิม กระโดดขาเดียวมายังช่องที่ ๕ สองขาที่ช่องที่ ๓ และ ๔ ขาเดียวที่ช่องที่ ๒ และช่องที่ ๑ พร้อมกับก้มลงเก็บเบี้ยที่ช่องที่ ๑ จากนั้นก็กระโดดออกมา
    ๔. ถ้าเกิดเล่นช่องที่ ๑ แล้วก็เล่นช่องที่ ๒ โดยโยนเบี้ยให้อยู่ในช่องที่ ๒ แล้วกระโดดขาเดียวไปยังช่องที่ ๑ ข้ามช่องที่ ๒ ไปยืน ๒ ขาที่ช่องที่ ๓ และ ๔ กระโดดไปยืนขาเดียวที่ช่องที่ ๕ และ ๒ ขา ที่ช่องที่ ๖ และ ๗ แล้วหันตัวกลับทำอย่างเดียวกับตาแรก คือ ต้องกระโดดกลับมาเก็บเบี้ยแล้วจึงกระโดดออกไป ถ้าเกิดเล่นถึงช่องหัวกระโหลกบนสุด ให้กระโดดกลับตัวในช่องที่ ๖ และ ๗ แล้วก้มลงใช้มือลอดระหว่างขา เก็บเบี้ยในช่องกระโหลก เมื่อเก็บได้จึงกระโดดออกมาอย่างเดิม หากว่าเล่นทุกช่องหมดแล้วจะได้บ้าน ๑ หลัง จึงขีดกากบาทไว้กลางช่องต่อไป ใครจะเหยียบบ้านนี้ไม่ได้

    โอกาส
    เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป
  2. กลับด้านบน

เล่นโพงพาง

 

  1. สถานที่เล่น สนาม ลานกว้าง

    อุปกรณ์ ผ้าปิดตา

    จำนวนผู้เล่น ไม่จำกัดจำนวน

วิธีเล่น

  1. ยิงฉุบกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่น ๆ จับมือเป็นวงกลมร้องเพลง โพงพางเอ๋ย โพงพางตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอดปล่อยลูกช้างเข้าในวง ขณะเดินวนรอบ ๆ โพงพางตาบอดร้องเพลง ๑-๓ จบ แล้วนั่งลงโพงพางจะเดินมาคลำคนอื่น ๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำเสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะเรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้าไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางอีกไปเรื่อย ๆ

    กติกา
    ใครถูกจับได้ และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทน

    โอกาส
    เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป
กลับด้านบน

 

ต้นกำรำเคียว

 

เต้นกำรำเคียว เป็นการละเล่นพื้นบ้านซึ่งเกิดขึ้นเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเลิกทาส กำเนิดครั้งแรกที่บ้านสระทะเล ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ โดยหลวงศรีบุรีขวัญ เป็นผู้ประดิษฐ์เนื้อร้อง

อุปกรณ์และวิธีการเล่น

อุปกรณ์ เคียวเกี่ยวข้าวกับรวงข้าว
วิธีการเล่น ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะยืนอยู่ฝ่ายละครึ่งวงกลม แต่ละคนถือเคียวเกี่ยวข้าวและรวงข้าวไว้คนละมือ เมื่อการละเล่นเริ่มขึ้น ฝ่ายชายที่เป็นพ่อเพลงเป็นผู้เต้นออกไปกลางวงตามจังหวะปรบมือของลูกคู่และร้องเพลงเชิญฝ่ายหญิงว่า
มาเถิดเอย เอ๋ยละแม่มา มาหรือมาแม่มา มาเต้นกำย่ำหญ้ากันเสียในนานี้เอย 
แล้วแม่เพลงจะรำออกมากลางวง ร้องโต้ตอบว่า
มาแล้วเอย เอยมาพ่อมา มาหรือมาพ่อมา มาหรือกระไรมาแล้ว พ่อพุ่มพวงดวงแก้ว น้องมาแล้วนายเอย 
ชายและหญิงจะเต้นรำคู่กันไป ผู้ยืนอยู่รอบ ๆ วงจะเป็นลูกคู่ร้องรับปรบมือและเต้นไปตามจังหวะเพลงแล้วเปลี่ยนคู่ใหม่ เช่นนี้เรื่อยไป บทเพลงที่ร้องมีหลายบท เช่น เพลงมา เพลงเดิน เพลงรำ เพลงบิน เพลงร่อนเพลงแถ เพลงย่าง เพลงย่อง เพลงยัก เป็นต้น ใครร้องเพลงอะไรก็ทำท่าไปตามเพลงนั้น

โอกาสที่เล่น

หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว

คุณค่า
ได้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการทำงานหนัก

กลับด้านบน