การละเล่นพื้นบ้านของภาคอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
การละเล่นกลองเส็ง กลองสองหน้า
การละเล่นกลองเส็ง,กลองสองหน้า เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือบางจังหวัด ได้แก่ บุรีรัมย์ หนองคาย เลย และเพชรบูรณ์ บางแห่งเรียก “แข่งกลอง” ซึ่งเป็นการแข่งขันการตีกลองคู่ด้วยไม้ค้อนสองมือ กลองลูกหนึ่งจะหนักมาก ใช้คนหาม 2 คน สนามแข่งขันส่วนใหญ่อยู่ในวัด ตัดสินโดยการฟังเสียงกังวานที่ดังก้องสลับกัน ประกอบด้วยท่าตีที่สวยงาม เจ้าของกลองมักจะเป็นวัดในแต่ละหมู่บ้านที่สร้างกลองชนิดนี้ไว้ นิยมเล่นในเทศกาลเดือนหก จนถึงเข้าพรรษา
โปงลาง
โปงลางเป็นเครื่องดนตรีของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ วิวัฒนาการมาจากเกราะหรือขอลอ ตีเพื่อให้เกิดเสียงดัง โปง หมายถึง เสียงของโปง ลาง หมายถึงสัญญาณบอกลางดีหรือลางแห่งความรื่นเริง โปงลาง จึงหมายถึง เครื่องดนตรีที่มีเสียงแห่งลางดี ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เรียงร้อยกัน 12 ท่อน ใช้แขวนเวลาตี การบรรเลงใช้คน 2 คน ตีเข้าจังหวะเร็ว รุกเร้าด้วยความสนุกสนาน มักจะเล่นเข้าวงกัน
เซิ้ง
|
เซิ้งเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการร่ายรำหมู่ ทั้งหมู่หญิงล้วน ชายล้วน และผสมทั้งชายหญิง เซิ้งเป็นคู่ ตั้งแต่ 3-5 คู่ เครื่องดนตรีประกอบการเล่นได้แก่ แกร๊ป โหม่ง กลองแตะ และกลองยาว ลีลาของการเซิ้งต้องกระฉับกระเฉง แคล่วคล่องว่องไว ทั้งนี้เพื่อมุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการตรากตรำทำงาน เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ๑. โปงลาง ๒. แคน ๓. พิณ ๔. ซอ ๕. ฉาบ ๖. ฉิ่ง ๗. กลอง กระบวนการเล่นเซิ้งจะนำสภาพการดำรงชีวิตมาดัดแปลงเป็นลีลาท่ารำ เช่น นำลักษณะการจับปลาโดยใช้สวิงมาประดิษฐ์เป็นลีลาการเล่น “เซิ้งสวิง” นำเอาอากัปกิริยาของหญิงสาวชาวบ้าน ที่นำอาหารใส่กระติ๊บไปส่งสามีและญาติที่กลางไร่กลางนา มาประดิษฐ์เป็นลีลาท่า “เซิ้งกระติ๊บข้าว” หรือนำการออกไปตีรังมดบนต้นไม้ เพื่อนำมาประกอบอาหาร มาประดิษฐ์เป็น “เซิ้งแหย่ไข่มดแดง”
ปัจจุบันเซิ้งได้วิวัฒนาการตามยุคสมัย มีการคิดท่าใหม่ๆขึ้นอีกมาก เรียกชื่อแตกต่างกันตามลักษณะของการเลียนแบบสภาพวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นเมืองนั้นเป็นหลัก เช่น เซิ้งโปง เซิ้งกระหยัง เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งสุ่ม ฯลฯ และไม่ว่าจะคิดท่าใดๆขึ้น ลักษณะของเซิ้งก็จะบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ไว้ในลีลาการเต้น ท่าเดิมไม่แตกต่างกันเลย
กันตรึม
กันตรึมเป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยเชื้อสายเขมรในเขตอีสานใต้ ซึ่งเป็นชุมชนที่ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาถิ่น เช่น จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ตามประวัติแต่โบราณใช้สำหรับขับร้องประกอบการร่ายรำบวงสรวง รำคู่ และรำหมู่ ต่อมามีวิวัฒนาการของการเล่นคลายกับการเล่นเพลงปฏิพากย์ ในภาคกลาง มีกลองที่เรียกว่า “กลองกันตรึม” เป็นหลัก เมื่อตีเสียงจะออกเป็นเสียง กันตรึม โจ๊ะ ตรึม ตรึม การเล่นจะเริ่มด้วยบทไหว้ครู เพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระวิศวกรรม ครูบาอาจารย์ และเริ่มทักทายกัน เล่นได้ทุกโอกาสไม่กำหนดว่าเป็นงานมงคลหรืออวมงคล วงดนตรีประกอบด้วย กลอง ซอ ปี่อ้อ ขลุ่ย ฉิ่ง กรับ ฉาบ กล่าวกันว่า ท่วงทำนองของเพลงกันตรึมมีกว่า 100 ทำนอง บทเพลงจะเกี่ยวกับเรื่อเบ็ดเตล็ด ตั้งแต่เกี้ยวพาราสี โอ้โลม ชมธรรมชาติ แข่งขันปฏิภาณ สู่ขวัญ เล่าเรื่อง ฯลฯ การแต่งกายแต่งตามประเพณีของท้องถิ่น ผู้หญิงนุ่งซิ่น เสื้อแขนกระบอก ผ้าสไบเฉียงห่มทับ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้น ผ้าไหมคาดเอวและพาดไหล่
เดินไม้สูง
|
เดินไม้สูงเป็นการละเล่นของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า เดินขาโกกเกก มักใช้ไม้ไผ่เป็นไม้ค้ำ มีง่ามสองอันสำหรับยืนเหยียบเพื่อใช้เดินต่างเท้า เวลาเดินมีเสียงดัง ก้าวจะยาว มักใชแข่งเรื่องความเร็ว
ในภาคเหนือ ภูมิประเทศเป็นป่าเขา ต้นน้ำลำธาร อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ การทำมาหากินสะดวกสบาย ชาวเหนือจึงมีนิสัยอ่อนโยน ยิ้มแย้มแจ่มใส มีน้ำใจไมตรี การแสดงพื้นเมืองจึงมีลีลาอ่อนช้อย งดงามและอ่อนหวานการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ เรียกกันว่า ฟ้อน มีผู้แสดงเป็นชุดเป็นหมู่
ร่ายรำท่าเหมือนกัน แต่งกายเหมือนกัน มีการแปรแถวแปรขบวนต่าง ๆลักษณะของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่ ลีลาการเคลื่อนไหว เป็นไปตามเอกลักษณ์ของแต่ละภาคเครื่อง แต่งกาย เป็นลักษณะพื้นเมืองของภาคนั้น ๆเครื่องดนตรี เป็นของท้องถิ่น ได้แก่ ปี่แน กลองตะโล้ดโป๊ด ฉาบใหญ่ ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ยเพลงบรรเลงและเพลงร้อง เป็นทำนองและสำเนียงท้องถิ่นการแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ ได้แก่ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเมือง ฟ้อนลาวแพน ฟ้อนรัก ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนดวงดอกไม้ ฟ้อนดวงเดือน ฟ้อนมาลัย ฟ้อนไต ฟ้อนดาบ ฟ้อนโยคีถวายไฟ ระบำชาวเขา รำกลองสะบัดไชเพลงพื้นเมืองภาคเหนือ เช่น เพลงซอ เพลงชาวเหนือ เพลงดวงดอกไม้
เดินกุ๊บกั๊บ
|
เดินกุ๊บกั๊บ เป็นการละเล่นของถิ่นอีสานโดยประดิษฐ์จากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
การเดินกุ๊บกั๊บ เป็นการเล่นสวมรองเท้าต่อขาให้สูงขึ้น สันนิษฐานว่าเดิมน่าจะใช้ในการเดินข้ามที่ชื้นแฉะ หรือพงหนามที่ไม่รกเรื้อ และสูงจนเกินไป
อุปกรณ์ในการเล่น
เอากะลามะพร้าวมาผ่าครึ่งคู่หนึ่งวางคว่ำลงกับพื้น เจาะรูที่ก้นกะลาทั้ง ๒ ข้าง หาเชือกที่เหนียวพอประมาณมา ๑ เส้น มีความยาวพอประมาณที่จะใช้มือดึงในขณะที่ยืนอยู่ได้
ปลายเชือกแต่ละข้างร้อยรูกะลาที่เจาะไว้ จะใช้ตะปูหรือไม้ที่แข็งแรงผูกปลายเชือกที่ร้อยกะลาไม่ให้เชือกหลุดจากรูกะลาเวลาเล่นใช้เท้าเหยียบลงบนกะลาทั้ง ๒ ข้างให้เชือกตึงอยู่ระหว่างง่ามหัวแม่เท้า เวลาเดินดึงเชือกให้ตึงกะลาติดเท้าไปด้วย กะลากระทบพื้นจะมีเสียงดัง กุ๊บกั๊บ หรือ ก๊อบแก๊บ
โอกาสและเวลาที่เล่น
เดินกุ๊บกั๊บเป็นการละเล่นที่เด็กผู้หญิงนิยมเล่นมากกว่าเด็กผู้ชาย เพราะไม่สู้เป็นอันตราย หรือเด็กผู้ชายที่กลัวไม้สูงก็จะเล่นเดินกุ๊บกั๊บ เป็นการละเล่นสนุกสนานของเด็กเล่นได้ทุกโอกาส
การแข่งขันเดินกุ๊บกั๊บหรือเดินกะลาจะไม่ค่อยมีในผู้ใหญ่ เด็ก ๆ จะเล่นกันตามบ้านหรือเล่นในโรงเรียนในเวลาพักลางวันหรือในเวลาว่าง
คุณค่า
เป็นภูมิปัญญาของการประดิษฐ์ของเล่นให้เด็กๆ หรือเด็กๆสามารถทำเองได้จากวัสดุพื้นบ้านที่ใกล้ตัว กะลาเมื่อเดินจนแตก หรือเลือกเล่นก็จะกลายเป็นปุ๋ยได้เป็นเชื้อเพลิงได้ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางมลพิษ และเป็นการฝึกให้ผู้เล่นรู้จักการทรงตัว ความสนุกสนานอยู่ที่การทรงตัวบนกะลาและพากะลาให้ไปได้อย่างรวดเร็ว เป็นของเล่นที่ราคาถูกเป็นการประหยัดอดออมรู้จักคิดรู้จักประดิษฐ์เป็นงานสร้างสรรค์
ปัจจุบันการเล่นเดินกุ๊บกั๊บแทบจะหาไม่ได้มีโรงเรียนน้อยแห่งที่สนับสนุนให้เด็กเล่นอยู่โรงเรียนจะสอนการละเล่นตามหลักสูตรที่ไม่สู้จะมีเรื่องของท้องถิ่นเด็กๆมีรองเท้าสวมใส่ไม่
ต้องเกรงว่าเท้าจะเลอะเทอะเปรอะเปื้อน ของเล่นมีให้เลือกเล่นมากมายและทันสมัย การเล่นเดินกุ๊บกั๊บ หรือเดินกะลาจึงเป็นการละเล่นที่หาดูได้ยากในยุคสมัยนี้
|